7.การสร้าง พัฒนา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้

การสร้างและพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ

1.ความหมาย

–“นวัตกรรม”  

          ผศ.วีระประเสริฐศิลป์ และคณะ (2546) ได้ให้ความหมายของ “นวัตกรรม” (Innovation)  หมายถึงวิธีการใหม่ ๆ ที่นำมาใช้ ซึ่งไม่เคยใช้ในหน่วยงานนั้นมาก่อน อาจเป็นวิธีการใหม่ที่ใช้เป้นครั้งแรก หรืออาจเป็นวิธีใหม่ที่เคยใช้ในหน่วยงานอื่นแล้วก็ได้

สวัสดิ์ ปุษบาคม (2517) ได้ให้ความหมายของ “นวัตกรรม” (Innovation)  หมายถึงการปฏิบัติหรือกรรมวิธีการใหม่มาใช้ หรือการทำการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงวิธีทำสิ่งต่างๆ ให้ดีกว่าเดิม คือทำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ตัวอย่างเช่น ในการให้การศึกษาก็ใช้เครื่องมือช่วยสอน ที่เรียกว่า Teaching machine หรือใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่เรียกว่า Computer Assisted Instruction เป็นต้น

          Thoeas Hughes ได้ให้ความหมายของ “นวัตกรรม” (Innovation)  เป็นการใช้วิธีการ เป็น 3 ระยะ คือระยะแรกมีการประดิษฐ์คิดค้น การประดิษฐ์คิดค้นที่จะยังไม่แพร่หลายเป็นที่ปฏิบัติทั่วไป จะต้องถึงระยะที่ 2 คือพัฒนาการ ของการคิดหรือสิ่งประดิษฐ์ เช่น ทำการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำ เช่น Silot Project เป็นการพัฒนาได้ผลก็จะนำไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป เป็นแนวทางการปฏิบัติใหม่จากที่เคยปฏิบัติมา ซึ่งเรียกว่า เป็นนวัตกรรมที่สมบูรณ์

– “เทคโนโลยีสารสนเทศ”

ผศ.วีระประเสริฐศิลป์ และคณะ(2546)ได้ให้ความหมายของ“เทคโนโลยีสารสนเทศ” (Information  Technology )หรือที่เรียกกันย่อๆว่า IT หมายถึงเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการจัดเก็บข้อมูล และการประมวลผลข้อมูลให้เกิดผลลัพธ์เป็นสารสนเทศ เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์

เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที(information technology: IT) คือการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โทรคมนาคม เพื่อจัดเก็บ ค้นหา ส่งผ่าน และจัดดำเนินการข้อมูล  ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับธุรกิจหนึ่งหรือองค์การอื่น ๆ  ศัพท์นี้โดยปกติก็ใช้แทนความหมายของเครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และยังรวมไปถึงเทคโนโลยีการกระจายสารสนเทศอย่างอื่นด้วย เช่นโทรทัศน์และโทรศัพท์ อุตสาหกรรมหลายอย่างเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ตัวอย่างเช่น ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ อินเทอร์เน็ต อุปกรณ์โทรคมนาคม การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และบริการทางคอมพิวเตอร์

2.บทบาทและความสำคัญของนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ในวงการบริหารงานต่างๆโดยเฉพาะในวงการบริหารธุรกิจซึ่งมีการแข่งขันกันสูงได้นำเอา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการบริหารเป็นอันมาก เพื่อให้การบริหารมีประสิทธิภาพสูง และได้ประสิทธิผลสูงสุด ผู้บริหารยุคใหม่ทุกระดับจึงนำนวัตกรรม และเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น ผู้บริหารระดับสูงในองค์กร จะนำสารสนเทศที่แสดงภาพรวมของการดำเนินงาน ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับสิ่งแวดล้อมสรุปปัญหาและแนวทางแก้ไขมาใช้เพื่อประกอบในการแก้ปัญหาและการตัดสินใจกำหนด กลยุทธ์ขององค์กร ส่วนผู้บริหารระดับกลางจะนำสารสนเทศที่ประมวลผลงานประจำปีมาใช้จัดทำแผนงบประมาณและกำหนดเป็นการดำเนินงานของหน่วยงานสำหรับผู้บริหารงานระดับต้น จะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยในการควบคุมการปฏิบัติงานเป็นต้น

ปัจจุบันผู้บริหารในวงการศึกษาได้นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการศึกษากันมากขึ้น เช่น

  1. การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการตัดสินใจที่ดีจะต้องรวดเร็วและไม่ผิดพลาดและการตัดสินใจรวดเร็วและไม่ผิดพลาดนั้นจำเป็นต้องมีข้อมูลสารสนเทศที่เป็นปัจจุบันไม่ล้าสมัยมีจำนวนมากเพียงพอและสามารถนำมาใช้ได้ง่ายและรวดเร็ว ซึ่งเทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยในเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี ระบบสารสนเทศที่มีผู้บริหารนำมาใช้ในการช่วยการตัดสินใจ มีดังนี้

1.1 ระบบสารเทศสำหรับผู้บริหาร หรือ เรียกว่าระบบสนับสนุนผู้บริหาร หรือ essเป็นระบบที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นมาเพื่อจัดเตรียมสารสนเทศที่เหมาะสมในการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง ช่วยให้ผู้บริหารสามารถทำความเข้าใจปัญหาอย่างชัดเจนและสามารถตัดสินใจเลือกแนวทางแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ

1.2 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจหรือ dssเป็นระบบที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช่สนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง ระบบ dssจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจของผู้บริหาร แต่จะไม่ทำการตัดสินใจแทนผู้บริหารโดยประมวลผลและนำเสนอข้อมูลที่สำคัญต่อการตัดสินใจจลอดจนประมวลทางเลือกที่เหมาะสมภายใต้ข้อจำกัดของแต่ละสถานการณ์เพื่อให้ผู้บริหารใช้สติปัญญา เหตุผล ประสบการณ์ และความคิดสร้างสรรค์ของตนวิเคราะห์และเปรียบเทียบทางเลือกให้สอดคล้องกับปัญหาหรือสถานการณ์นั้นๆ

  1. การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารทางไกลมีการนำสื่อหลายๆอย่าง เช่น โทรศัพท์มือถือ โทรสาร วิทยุ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ และเครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคมมาใช้ในการติดต่อสื่อสารและการบริหารทางไกลได้สะดวกรวดเร็ว ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายเป็นอันมาก ถึงแม้จะอยู่ไกลกันก็สามารถทำงานร่วมกัน ประชุมร่วมกันได้ โดยใช้ Telecomferenceเป็นต้น
  2. การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารสถานศึกษาปัจจุบันสถานศึกษาหลายแห่งพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อใช้ในการบริหารงานด้านต่างๆทั้งการบริหารงานวิชาการ การบริหารกิจการนักเรียนการบริหารงานบุคคลกร การบริหารงานวิชาการ การเงิน พัสดุ ครุภัณฑ์ การบริหารงานอาคารสถานที่ และการบริหารงานชุมชน
  3. การสร้างเครือข่ายข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศ เครือข่ายนี้จะช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยเป็นอันมาก ปัจจุบันมีโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์โรงเรียนมัธยมศึกษา ซึ่งเป็นโครงการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โครงการหนึ่งในหลายโครงการที่เกิดขึ้นตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ได้นำแนวทางพระราชดำริ มาดำเนินการร่วมกับหน่วยงานและสถานศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
    • เพื่อให้โรงเรียนทั่วประเทศได้มี และได้ประโยชน์จากเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาเรียนรู้
    • เพื่อโรงเรียนมัธยมศึกษาทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัดเข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และเครือข่ายข้อมูลระหว่างกลุ่มโรงเรียน
    • เพื่อให้โรงเรียนสามารถแลกเปลี่ยนเอกสาร สื่อการสอน และดัชนีห้องสมุดระหว่างโรงเรียน
    • เพื่อช่วยให้ผู้ใช้ในระดับโรงเรียนได้เข้าถึงศูนย์ข้อมูลต่างๆและห้องสมุดในอินเตอร์เน็ต
    • เพื่อให้ครู อาจารย์สามารถติดต่อกับครู อาจารย์ในโรงเรียน หรือสถาบันการศึกษาอื่นๆทั้งในและต่างประเทศ
  4. การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดการศึกษา ในปัจจุบันผู้บริหารหน่วยงานทางการศึกษานำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดการศึกษา เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้หลายอย่าง เช่น

5.1 อินเตอร์เน็ต เพื่อใช้ค้นคว้าหาข้อมูล ข่าวสารทางวิชาการและอื่นๆ จากที่ต่างๆ เป็นการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต

  • จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้รับส่งข่าวสาร ข้อมูล รูปภาพ และส่งงานให้ครูอาจารย์ตรวจ
  • การจัดทำ Website ของสถานศึกษา เพื่อการเผยแพร่ข่าวสารของสถานศึกษา
  • การใช้โปรแกรม SPSS เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ
  • การทำ Powerpointเพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน
  • คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ CAI เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตัวเองจากบทเรียนสำเร็จรูป
  • การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นการเรียนทางไกลที่ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับผู้สอนได้ โดยอาศัยเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จึงช่วยให้เรียนรู้ได้โดยไม่มีข้อจำกัดของเวลา และสถานที่
  • ห้องเรียนอัจฉริยะ เป็นการจัดระบบบริหารจัดการห้องเรียน ที่ใช้การเรียนการสอนแบบออนไลน์และปฏิสัมพันธ์สามารถควบคุมและตรวจสอบกิจกรรมของนักเรียนได้โดยตรงจากคอมพิวเตอร์ของครู
  • หนังสืออิเล็กทรอนิกส์และห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเสริมการเรียนการสอนและให้บริการค้นคว้าหาความรู้แก่นักเรียน ครู อาจารย์ และประชาชนทั่วไป

5.10การใช้เทคโนโลยีสารสนและการสื่อสาร หรือ ICT เพื่อพัฒนาการศึกษา

3.ประเภทนวัตกรรมทางการศึกษาและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา

ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้มีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรมการศึกษาไว้หลายมาตรา มาตราที่สำคัญ คือ มาตรา 67 รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาการผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่าและเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทยและในมาตรา 22 “การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ” การดำเนินการปฏิรูปการศึกษาให้สำเร็จได้ตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ดังกล่าว จำเป็นต้องทำการศึกษาวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษาใหม่ๆ ที่จะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาทางการศึกษาทั้งในรูปแบบของการศึกษาวิจัย การทดลองและการประเมินผลนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีที่นำมาใช้ว่ามีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด นวัตกรรมที่นำมาใช้ทั้งที่ผ่านมาแล้วและที่จะมีในอนาคตมีหลายประเภทขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้นวัตกรรมในด้านต่างๆ ในที่นี้จะขอกล่าวคือ นวัตกรรม 5 ประเภท คือ

3.1 นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร

นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร เป็นการใช้วิธีการใหม่ๆ ในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นและตอบสนองความต้องการสอนบุคคลให้มากขึ้น เนื่องจากหลักสูตรจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและของโลก นอกจากนี้การพัฒนาหลักสูตรยังมีความจำเป็นที่จะต้องอยู่บนฐานของแนวคิดทฤษฎีและปรัชญาทางการจัดการสัมมนาอีกด้วย การพัฒนาหลักสูตรตามหลักการและวิธีการดังกล่าวต้องอาศัยแนวคิดและวิธีการใหม่ๆ ที่เป็นนวัตกรรมการศึกษาเข้ามาช่วยเหลือจัดการให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการ นวัตกรรมทางด้านหลักสูตรในประเทศไทย ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตรดังต่อไปนี้

  1. หลักสูตรบูรณาการ เป็นการบูรณาการส่วนประกอบของหลักสูตรเข้าด้วยกันทางด้านวิทยาการในสาขาต่างๆ การศึกษาทางด้านจริยธรรมและสังคม โดยมุ่งให้ผู้เรียนเป็นคนดีสามารถใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ในสาขาต่างๆ ให้สอดคล้องกับสภาพสังคมอย่างมีจริยธรรม

2.หลักสูตรรายบุคคล เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อการศึกษาตามอัตภาพ เพื่อตอบสนองแนวความคิดในการจัดการศึกษารายบุคคล ซึ่งจะต้องออกแบบระบบเพื่อรองรับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านต่างๆ

3.หลักสูตรกิจกรรมและประสบการณ์ เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้น กระบวนการในการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ให้กับผู้เรียนเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ เช่น กิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในบทเรียน ประสบการณ์การเรียนรู้จากการสืบค้นด้วยตนเอง เป็นต้น

4.หลักสูตรท้องถิ่น เป็นการพัฒนาหลักสูตรที่ต้องการกระจายการบริหารจัดการออกสู่ท้องถิ่น เพื่อให้สอดคล้องกับศิลปวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ของประชาชนที่มีอยู่ในแต่ละท้องถิ่น แทนที่หลักสูตรในแบบเดิมที่ใช้วิธีการรวมศูนย์การพัฒนาอยู่ในส่วนกลาง

3.2 นวัตกรรมการเรียนการสอน

เป็นการใช้วิธีระบบในการปรับปรุงและคิดค้นพัฒนาวิธีสอนแบบใหม่ๆ ที่สามารถตอบสนองการเรียนรายบุคคล การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนแบบมีส่วนร่วม การเรียนรู้แบบแก้ปัญหา การพัฒนาวิธีสอนจำเป็นต้องอาศัยวิธีการและเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาจัดการและสนับสนุนการเรียนการสอน ตัวอย่างนวัตกรรมที่ใช้ในการเรียนการสอน ได้แก่ การสอนแบบศูนย์การเรียน การใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ การสอนแบบเรียนรู้ร่วมกัน และการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต การวิจัยในชั้นเรียน ฯลฯ

3.3 นวัตกรรมสื่อการสอน

            เนื่องจากมีความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครือข่ายและเทคโนโลยี โทรคมนาคม ทำให้นักการศึกษาพยายามนำศักยภาพของเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ในการผลิตสื่อการเรียนการสอนใหม่ๆ จำนวนมากมาย ทั้งการเรียนด้วยตนเองการเรียนเป็นกลุ่มและการเรียนแบบมวลชน ตลอดจนสื่อที่ใช้เพื่อสนับสนุนการฝึกอบรม ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ตัวอย่าง นวัตกรรมสื่อการสอน ได้แก่

– คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)

– มัลติมีเดีย (Multimedia)

– การประชุมทางไกล (Teleconference)

– ชุดการสอน (Instructional Module)

– วีดิทัศน์แบบมีปฎิสัมพันธ์ (Interactive Video)

3.4 นวัตกรรมการประเมินผล

          เป็นนวัตกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการวัดผลและประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำได้อย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการวิจัยทางการศึกษา การวิจัยสถาบัน ด้วยการประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์มาสนับสนุนการวัดผล ประเมินผลของสถานศึกษา ครู อาจารย์ ตัวอย่าง นวัตกรรมทางด้านการประเมินผล ได้แก่

– การพัฒนาคลังข้อสอบ

– การลงทะเบียนผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต

– การใช้บัตรสมาร์ทการ์ด เพื่อการใช้บริการของสถาบันศึกษา

– การใช้คอมพิวเตอร์ในการตัดเกรด

– ฯลฯ

3.5 นวัตกรรมการบริหารจัดการ

เป็นการใช้นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารสนเทศมาช่วยในการบริหารจัดการ เพื่อการตัดสินใจของผู้บริหารการศึกษาให้มีความรวดเร็วทันเหตุการณ์ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก

นวัตกรรมการศึกษาที่นำมาใช้ทางด้านการบริหารจะเกี่ยวข้องกับระบบการจัดการฐานข้อมูลในหน่วยงานสถานศึกษา เช่น ฐานข้อมูล นักเรียน นักศึกษา ฐานข้อมูล คณะอาจารย์และบุคลากร ในสถานศึกษา       ด้านการเงิน บัญชี พัสดุ และครุภัณฑ์ ฐานข้อมูลเหล่านี้ต้องการออกระบบที่สมบูรณ์มีความปลอดภัยของข้อมูลสูง

นอกจากนี้ยังมีความเกี่ยวข้องกับสารสนเทศภายนอกหน่วยงาน เช่น ระเบียบปฏิบัติ กฎหมาย พระราชบัญญัติ ที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษา ซึ่งจะต้องมีการอบรม เก็บรักษาและออกแบบระบบการสืบค้นที่ดีพอซึ่งผู้บริหารสามารถสืบค้นข้อมูลมาใช้งานได้ทันทีตลอดเวลา

การใช้นวัตกรรมแต่ละด้านอาจมีการผสมผสานที่ซ้อนทับกันในบางเรื่อง ซึ่งจำเป็นต้องมีการพัฒนาร่วมกันไปพร้อมๆ กันหลายด้าน การพัฒนาฐานข้อมูลอาจต้องทำเป็นกลุ่มเพื่อให้สามารถนำมาใช้ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4.ประเภทเทคโนโลยีทางการศึกษา

  1. เครื่องมือ (Hardware)ซึ่งเป็นผลผลิตที่เกิดจากการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ และอุตสาหกรรม เป็นเครื่องมือที่จะนำเสนอเนื้อหาสาระ หรือเป็นเครื่องมือที่ช่วย ในการผลิต
  2. วัสดุ (Software) เป็นส่วนที่เก็บสาระ เนื้อหาไว้ในตัวของมันเอง อาจจะ นำเสนอโดยตัวของมันเองก็ได้ หรือนำเสนอผ่านเครื่องมือก็ได้
  3. วิธีการเป็นเทคโนโลยีที่มีลักษณะเป็นนามธรรม ไม่เป็นวัตถุ แต่เป็นลักษณะการเสนอ การกระทำ อาจใช้รวมกับเครื่องมือหรือวัสดุ มักจะอยู่ในรูปของกิจกรรม

จากวัตถุประสงค์ดังกล่าว ฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษาจึงเป็นหน่วยที่ทั้งอาจารย์   ข้าราชการและนักศึกษา  รวมทั้งส่วนราชการภายนอกและเอกชนในท้องถิ่นใช้บริการตลอดมา  แต่อย่างไรก็ตามฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษาก็ได้จัดลำดับความสำคัญก่อนหลัง ดังนี้

  1. บริการเพื่อการสอนของอาจารย์
  2. บริการเพื่อกิจกรรมของมหาวิทยาลัย
  3. บริการเพื่อการสนับสนุนวิชาการของมหาวิทยาลัย
  4. บริการเพื่อการเรียนของนักศึกษา
  5. บริการเพื่อสวัสดิการของบุคลากร
  6. บริการเพื่อส่วนราชการและบุคคลทั่วไป

 

5.ความสำคัญของนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา

     ความสำคัญของนวัตกรรมการศึกษา

       สุรินทร์ บุญสนอง (2555) นวัตกรรมมีความสำคัญต่อการศึกษาหลายประการ  ทั้งนี้เนื่องจากในโลกยุคโลกาภิวัตต์โลกมีการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความก้าวหน้าทั้งด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ  การศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงจากระบบการศึกษาที่มีอยู่เดิม  เพื่อให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งเพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านศึกษาบางอย่างที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน  การเปลี่ยนแปลงทางด้านการศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับนวัตกรรมการศึกษาที่จะนำมาใช้เพ่อแก้ไขปัญหาทางการศึกษาในบางเร่อง  เช่น ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกัน  จำนวนผู้เรียนที่มากขึ้น การพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย  การผลิตและพัฒนาสื่อใหม่ ๆ ขึ้นมาเพื่อตอบสนองการเรียนรู้ของมนุษย์ให้เพิ่มมากขึ้นด้วยระยะเวลาที่สั้นลง  การใช้นวัตกรรมมาประยุกต์ในระบบการบริหารจัดการด้านการศึกษาก็มีส่วนช่วยให้การใช้ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง

กล่าวโดยสรุป  นวัตกรรมการศึกษาเกิดขึ้นตามสาเหตุใหม่ ๆ ดังต่อไปนี้

1)  การเพิ่มปริมาณของผู้เรียนในระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาเป็นไปอย่างรวดเร็ว  ทำให้นักเทคโนโลยีการศึกษาต้องหานวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ เพื่อให้สามารถสอนนักเรียนได้มากขึ้น

2)  การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว  การเรียนการสอนจึงต้องตอบสนองการเรียนการสอนแบบใหม่ ๆ ที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เร็วและเรียนรู้ได้มากในเวลาจำกัดนักเทคโนโลยีการศึกษาจ่งต้องค้นหานวัตกรรมมาประยุกต์ใช้เพื่อวัตถุประสงค์นี้

3)  การเรียนรู้ของผู้เรียนมีแนวโน้มในการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น ตามแนวปรัชญาสมัยใหม่ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  นวัตกรรมการศึกษาสามารถช่วยตอบสนองการเรียนรู้ตามอัตภาพ ตามความสามารถของแต่ละคน เช่นการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  CAI (Computer Assisted instruction)  การเรียนแบบศูนย์การเรียน

4)  ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีโทรคมนาคม ที่ส่วนผลักดันให้มีการใช้นวัตกรรม

การศึกษาเพิ่มมากขึ้น เช่น เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทำให้คอมพิวเตอร์ มีขนาดเล็กลง แต่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นมาก เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ทำให้เกิดการสื่อสารไร้พรมแดน  นักเทคโนโลยีการศึกษาจึงคิดค้นหาวิธีการใหม่ ๆ ในการประยุกต์ใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นฐานในการเรียนรู้ ที่เรียกว่า “Web-based Learning”   ทำให้สามารถเรียนรู้ในทุกพี่ทุกเวลาสำหรับทุกคน (Sny where, Any time for  Everyone )  ถ้าหากผู้เรียนสามารถใช้อิเตอร์เน็ตได้

การใช้คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันเป็นไปอย่างกว้างขวาง  ในวงการศึกษาคอมพิวเตอร์มิใช่เพียงแต่สิ่งอำนวยความสะดวกในสำนักงานเท่านั้น  แต่ยังใช้เป็นสื่อหรือเป็นเครื่องมือสร้างสื่อได้อย่างสวยงามเหมือนจริง และรวดเร็วมากกว่าก่อน  นักเทคโนโลยีการศึกษาจึงศึกษาวิจัยบทนวัตกรรมทางด้านการผลิตและการใช้สื่อใหม่ ๆ ตามศักยภาพของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เช่น คอมพิวเตอร์กราฟิก ระบบมัลติมีเดีย วิดีโอออนดีมานด์  การประชุมทางไกล อี-เส้นนิ่ง อี-เอ็ดดูเคชั่น เป็นต้น

 ดร.กฤษมันต์ ได้กล่าวว่า นวัตกรรมมีความสำคัญต่อการศึกษาหลายประการ  คือ

  1. เพื่อให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
  2. เพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาบางอย่างที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. เพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาในบางเรื่อง เช่น ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับจำนวนผู้เรียนที่มากขึ้น การพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัยการผลิตและพัฒนาสื่อใหม่ ๆ ขึ้นมา
  4. เพื่อตอบสนองการเรียนรู้ของมนุษย์ให้เพิ่มมากขึ้นด้วยระยะเวลาที่สั้นลง
  5. การใช้นวัตกรรมมาประยุกต์ในระบบการบริหารจัดการด้านการศึกษาก็มีส่วนช่วยให้การใช้ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้เนื่องจากในโลกยุคโลกาภิวัตต์โลกมีการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านอย่างรวดเร็ว  โดยเฉพาะอย่างยิ่งความก้าวหน้าทั้งด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ  การศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงจากระบบการศึกษาที่มีอยู่เดิม  เพื่อ ให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป  อีกทั้งเพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านศึกษาบางอย่างที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเดียวกันการเปลี่ยนแปลงทางด้านการศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเกี่ยว กับนวัตกรรมการศึกษาที่จะนำมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาทางการศึกษาในบางเรื่อง  เช่น  ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกัน  จำนวนผู้เรียนที่มากขึ้น การพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย  การผลิตและพัฒนาสื่อใหม่ๆ  ขึ้นมาเพื่อตอบสนองการเรียนรู้ของมนุษย์ให้เพิ่มมากขึ้นด้วยระยะเวลาที่สั้นลง  การใช้นวัตกรรมมาประยุกต์ในระบบการบริหารจัดการด้านการศึกษาก็มีส่วนช่วยให้การ ใช้ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษา

1.สามารถทำให้มีการเรียนการสอน การศึกษามีความหมายมากขึ้น ผู้เรียนเรียนได้กว้างขวางมากขึ้น เรียนได้เร็วขึ้น เข้าใจได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้ครูมีเวลาให้แก่นักเรียนมากขึ้น

  1. สามารถสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ ผู้เรียนมีอิสระในการเรียนรู้ มีความรับผิดชอบ
  2. สามารถทำให้การจัดการศึกษาตั้งอยู่บนรากฐานของวิธีทางวิทยาศาสตร์ ค้นพบวิธีใหม่ๆ และสมเหตุสมผลตามความเปลี่ยนแปลงของสังคม
  3. ช่วยให้การศึกษามีพลังมากขึ้น
  4. ทำให้การเรียนรู้อยู่แค่เอื้อม
  5. ทำให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษา

 

6.กระบวนการสร้างและพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้

เนาวนิตย์  สงคราม ได้กล่างถึง “ขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรมหรือวิธีการจัดการเรียนรู้ให้มีคุณภาพ”  เป็นอย่างไร ซึ่งมี 9 ขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนที่ 1. สร้างกรอบแนวคิดในการพัฒนา

ขั้นตอนที่ 2. วิเคราะห์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ขั้นตอนที่ 3. กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้

ขั้นตอนที่ 4. กำหนดคุณลักษณะนวัตกรรมการเรียนรู้

ขั้นตอนที่ 5. สำรวจทรัพยากรการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้

ขั้นตอนที่ 6. ออกแบบนวัตกรรมการเรียนรู้

ขั้นตอนที่ 7. วางแผนและดำเนินการพัฒนาการเรียนรู้

ขั้นตอนที่ 8. ตรวจสอบ ทดลองและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้

ขั้นตอนที่ 9. สรุปและประเมินผลการเรียนรู้

ในแต่ละขั้นตอน มีรายละเอียดอย่างไร บ้าง ให้ครูผู้สอนที่จะทำการวิจัยได้ตั้งใจศึกษาและทำความเข้าใจด้วยตนเองให้แจ่มแจ้งและจริงจัง ดังจะได้อธิบายต่อไป

 

  1. การสร้างกรอบแนวคิดในการพัฒนาให้พิจารณาองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

1.1 ศึกษาหลักสูตร เนื้อหาและเนื้อเรื่อง ที่จะสอน โดยให้พิจารณาถึง ความจำเป็นสภาพความต้องการและความสำคัญ ที่ผู้สอนควรกำหนดขอบเขตการนำเสนอเนื้อหาด้วยนวัตกรรมการเรียนรู้เป็นหัวข้อหลักและหัวข้อรองตามลำดับ

1.2 ศึกษาจุดเด่นและจุดด้อยของเนื้อหาวิชา เพื่อให้ทราบสภาพพื้นฐานเบื้องต้นด้านโครงสร้าง สาระสำคัญและรายละเอียดที่ต้องดำเนินการปรับปรุงหรือพัฒนาการเรียนรู้แก่ผู้เรียน

1.3 ศึกษาสภาพปัญหา การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และระดับความต้องการในขณะนั้น เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาและช่วยให้นวัตกรรมที่พัฒนาขึ้น มีความสอดคล้องและเหมาะสมกับปัญหาหรือความต้องการที่เกิดขึ้น

1.4 กำหนดแนวทางการพัฒนา และการประเมินคุณภาพ นวัตกรรมการเรียนรู้ ที่พัฒนาขึ้นว่า ต้องการนำไปให้ผู้สอนหรือผู้เรียนใช้ และหลังจากใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น ตามกระบวนการที่กำหนดไว้แล้ว ผู้เรียนจะบรรลุเป้าหมายได้อย่างไร และจะทราบได้อย่างไรว่านวัตกรรมนั้นประสบความสำเร็จในการนำไปใช้งานนั้น ๆ

  1. การวิเคราะห์หลักสูตรให้วิเคราะห์หาองค์ประกอบ ดังนี้

2.1 วิเคราะห์โครงสร้างของเนื้อหา เพื่อศึกษาถึงองค์ประกอบของเนื้อหา ว่ามีลักษณะโครงสร้างตามหลักสูตรที่กำหนดไว้ ควรประกอบด้วยสาระที่เป็นแกนหลักและรายละเอียดใดบ้างที่ทำให้เนื้อหาสาระที่กำหนดขึ้นสามารถนำไปพัฒนานวัตกรรมได้อย่างเหมาะสม มีความสมบูรณ์ ทันสมัย และตรงตามวัตถุประสงค์

2.2 วิเคราะห์ความยาวนานของเวลาที่ใช้ เพื่อแบ่งเนื้อหาสาระและจัดลำดับการนำเสนอนวัตกรรมให้เหมาะสมกับความคงทนในการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละกลุ่มแต่ละวัย

2.3 วิเคราะห์ผู้เรียน เพื่อพิจารณาคุณลักษณะผู้เรียนในด้านต่าง ๆ เช่นวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ประสบการณ์เดิม ลักษณะทางกายภาพ สติปัญญา อารมณ์ ความต้องการ เจตคติ เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการด้านร่างกาย สติปัญญา สังคมและอารมณ์ของผู้เรียน เนื่องจากลักษณะของผู้เรียนจะมีผลโดยตรงต่อการพิจารณาเลือกพัฒนานวัตกรรมตลอดจนวิธีการนำเสนอให้สอดคล้องและเหมาะสมกับการเรียนรู้

  1. การกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ให้พิจารณาจากวิธีการกำหนดให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรม ที่แสดงถึงการเรียนรู้และระดับของพฤติกรรมที่ต้องการ ด้วยการจัดลำดับเนื้อหา กำหนดเวลาการนำเสนอและกิจกรรม เพื่อให้นวัตกรรมสามารถถ่ายทอดพฤติกรรมและคุณลักษณะที่ต้องการให้แก่ผู้เรียนได้ดียิ่งขึ้นซึ่งสามารถแบ่งประเภทการเรียนรู้และระดับการเกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ได้ ดังนี้

3.1 พุทธิพิสัย (Cognitive) เป็นการรับข้อมูลและเนื้อหาความรู้จากสิ่งที่ง่ายไปสู่สิ่งยากอันเป็นการพัฒนาด้านสติปัญญาของมนุษย์ ซึ่งมี 6 ระดับ ได้แก่ 1) รู้และจำได้ 2) เข้าใจเรื่องราว 3) นำไปใช้ได้  4) วิเคราะห์ได้ 5) สังเคราะห์ได้ และ 6) ประเมินคุณค่าได้

3.2 ทักษะพิสัย (Psycho-motor) เป็นการเรียนรู้ที่แสดงออกในด้านทักษะและความสามารถทางด้านการบังคับกลไกของร่างกายในการปฏิบัติงานต่าง ๆ มี 7 ระดับได้แก่ 1) รับรู้การกระทำ 2) เตรียมความพร้อม 3) ตอบสนองตามสภาพ 4) ปรับกลไกการตอบสนอง 5) ตอบสนองโดยอัตโนมัติ 6) ดัดแปลงกระบวนการตอบสนอง และ 7) ปรับประยุกต์ใช้ในสถานการณ์อื่นๆ

3.3 จิตพิสัย (Affective) เป็นการเรียนรู้ที่แสดงออกด้านทัศนคติ ความรู้สึก เพื่อพัฒนาพฤติกรรมหรือบุคลิกลักษณะของแต่ละบุคคล มี 5 ระดับ ได้แก่ 1) ตั้งใจรับรู้ 2) ยอมรับและเชื่อถือ 3) เห็นคุณค่า 4) จัดระบบคุณค่าได้ 5) สร้างลักษณะนิสัย

  1. การกำหนดคุณลักษณะนวัตกรรมการเรียนรู้ให้นำเอาวัตถุประสงค์มาเป็นกรอบคุณลักษณะ โดยให้พิจารณา คุณลักษณะ ดังต่อไปนี้

4.1 คุณลักษณะของนวัตกรรมการเรียนรู้ด้านประเภทการใช้งาน จัดอยู่ในประเภทใด เช่น นวัตกรรมประเภทเครื่องฉาย นวัตกรรมประเภทไม่ใช้เครื่องฉาย  นวัตกรรมประเภทเครื่องเสียง เป็นต้น

4.2 คุณลักษณะของนวัตกรรมการเรียนรู้ด้านลำดับขั้นการเรียนรู้ ควรใช้นวัตกรรมในลำดับใด ตามลำดับขั้นการเรียนรู้แบบกรวยประสบการณ์ ซึ่งมีการเรียงลำดับกิจกรรมการเรียนรู้ ที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์เรียนรู้จากมากไปหาน้อยตามลำดับ ได้แก่   1) ประสบการณ์ตรง  2) ประสบการณ์รอง      3) ประสบการณ์จากการแสดง 4) การสาธิต  5) การศึกษานอกสถานที่ 6) นิทรรศการ 7) โทรทัศน์      8) ภาพยนตร์ 9) การบันทึกเสียง 10) วิทยุ 11) ภาพนิ่ง 12) ทัศนสัญญาณ 13) วจนสัญญาณ

4.3 คุณลักษณะของนวัตกรรมการเรียนรู้ เนื่องจากนวัตกรรมมีประสิทธิภาพในการถ่ายทอดประสบการณ์และช่วยให้เกิดการเรียนรู้ ได้ในระดับที่แตกต่างกัน ดังนั้นจะต้องพิจารณาคัดเลือกนวัตกรรมให้สอดคล้องกับประเภทของลักษณะข้อมูลและประสิทธิภาพการรับรู้ของผู้เรียน ดังแสดงไว้ในตารางต่อไปนี้

ตาราง     แสดงประสิทธิภาพของนวัตกรรม

ลักษณะข้อมูล/นวัตกรรม ข้อมูลเชิงสถิติและตัวเลข ภาพและสถานการณ์จริง หลักการแนวคิดทฤษฏี ขั้นตอนการปฏิบัติ แนวคิดค่านิยมเจตคติ
ภาพนิ่งภาพยนตร์โทรทัศน์

วัสดุ 3 มิติ

เทปบันทึกเสียง

การสาธิต

สิ่งพิมพ์

การบรรยาย

*******

*

*

*

***

**

********

*

**

**

*

*

********

*

*

*

**

**

*******

*

**

***

**

**

******

*

**

***

**

**

*** ประสิทธิภาพสูงสุด ** ประสิทธิภาพปานกลาง        * ประสิทธิภาพต่ำ

 

  1. การสำรวจทรัพยากรการพัฒนานวัตกรรมให้มีการสำรวจทรัพยากรพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ ดังต่อไปนี้

5.1 สำรวจบุคลากร ควรสำรวจบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ ผู้มีความรู้ความสามารถในเรื่องที่เกี่ยวข้อง อาจได้แก่ 1) นักเทคโนโลยีการศึกษาด้านการพัฒนา การทดสอบ และทดลองใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ 2) นักวิชาการ ด้านหลักสูตรและเนื้อหา 3) นักจิตวิทยาการศึกษา ด้านพฤติกรรมและพัฒนาการเรียนรู้ 4) ผู้สอน ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการสอน 5) นักวัดและประเมินผล ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการวัดและประเมินผล

5.2 สำรวจเครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์ ให้สำรวจก่อนดำเนินงานเพื่อเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการนำเครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์มาใช้เพราะกระบวนการพัฒนาจำเป็นต้องใช้เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์มาใช้ในการดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป รวมทั้งจะได้คำนวณถึงปริมาณหรือ

งบประมาณในการดำเนินการ

5.3 สำรวจงบประมาณ ให้ทำการสำรวจงบประมาณเพื่อดำเนินการ ซึ่งอาจโดยการเขียนโครงการขอรับการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือผู้มีเมตตาจิตที่จะให้การอนุเคราะห์

5.4 สำรวจสถานที่ ให้ทำการสำรวจสถานที่ที่จะนำนวัตกรรมไปทดลองใช้ว่ามีความเหมาะสมเพียงใด รวมทั้งสภาพแวดล้อมข้างเคียงด้วย

  1. การออกแบบนวัตกรรมการเรียนรู้การออกแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ดี ต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับหลักการและทฤษฏีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและส่งผลกระทบต่อคุณภาพของนวัตกรรมการเรียนรู้พัฒนาขึ้น ให้พิจารณาโดยยึดหลักการ ดังนี้

6.1 หลักการและทฤษฏีทางจิตวิทยาการศึกษา ควรคำนึงถึงหลักการและทฤษฏีทางจิตวิทยาการศึกษา ดังนี้

1) การเสริมแรง นวัตกรรมการเรียนรู้ต้องมีอิทธิพลต่อการจูงใจผู้เรียนให้มากที่สุดหรือมากกว่าที่เคยใช้มา

2) การให้ความรู้เฉพาะเรื่อง นวัตกรรมการเรียนรู้ต้องเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้เนื้อหาสาระให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์การเรียนรู้มากที่สุด

3) ความสัมพันธ์  เนื้อหาและแรงจูงใจทั้งภายในและภายนอกของนวัตกรรมที่ดีมีคุณค่าและมีความหมายต่อผู้เรียนต้องสัมพันธ์กันในขณะจัดกิจกรรมการเรียนรู้

4) พื้นฐานของการรับรู้ ความประณีต ความละเอียด ความสัมพันธ์กันและความชัดเจนของเนื้อหาพื้นฐานของการรับรู้ย่อม มีอิทธิพลต่อการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้อย่างยิ่ง

5) การใช้องค์ประกอบ ความคุ้นเคยของผู้เรียนและการใช้เทคนิคการนำเสนอของผู้สอนต้องสอดคล้องกับทัศนคติของผู้เรียน เป็นองค์ประกอบสำคัญของการพัฒนานวัตกรรม

6) ความเป็นรูปธรรม นวัตกรรมการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อผู้เรียน สามารถสัมผัสได้อย่างเป็นรูปธรรมเป็นสิ่งที่ควรพัฒนาให้เกิดขึ้นอย่างยิ่ง

7) อัตราส่วนของเนื้อหาสาระ ในขณะนำนวัตกรรมไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต้องกำหนดปริมาณเนื้อหาและจัดลำดับการนำเสนอให้มีอิทธิพลและส่งผลต่อการเรียนรู้มากที่สุด

8) การจัดตัวแปรทางการสอน นวัตกรรมการเรียนรู้ต้องสามารถจัดสภาพขององค์ประกอบต่าง ๆ ให้สามารถเกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนเฉพาะจุดมุ่งหมายที่ต้องการได้มากที่สุด

9) ความเป็นผู้นำทางการสอน นวัตกรรมการเรียนรู้ต้องช่วยให้สามารถประยุกต์ใช้เทคนิควิธี หลักการและทฤษฏีต่าง ๆ ในการจัดการเรียนรู้มาหลอมรวมกับประสบการณ์เดิม เพื่อใช้กิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์และสภาพของผู้เรียน

6.2 หลักการออกแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ ให้คำนึงถึงพื้นฐานขององค์ปะกอบต่าง ๆ ที่บรรจุไว้ในนวัตกรรม ต้องมุ่งเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ การสังเกต การจดจำ มีความคิดสร้างสรรค์และกระตือรือร้นในการปฏิบัติกิจกรรม โดยเฉพาะองค์ประกอบภายในนวัตกรรม ได้แก่ ความกลมกลืน สัดส่วน ความสมดุล จังหวะ การเน้น ความเป็นเอกภาพและความแตกต่างหรือ

การตัดกันที่แสดงออกด้วยการใช้ เส้น สี แสงและเงา

6.3 หลักการสื่อสาร สิ่งที่เราควรคำนึงในการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ คือ การถ่ายทอดข้อมูลอันเป็นความรู้และประสบการณ์จากผู้สอนไปยังผู้เรียน ด้วยการให้ความสำคัญกับองค์ประกอบของการสื่อสาร ได้แก่ ผู้ส่งสารหรือแหล่งของสาร เนื้อหาเรื่องราวของนวัตกรรมหรือช่องทางการนำข่าวสาร ไปถึงผู้รับหรือกลุ่มเป้าหมาย ผลที่เกิดขึ้นและปฏิกิริยาต้องตอบสนอง ผู้เรียนที่สัมผัสได้  นอกจากนี้ยังต้องพิจารณารูปแบบของการสื่อสารด้วยว่าเป็นการสื่อสารทางเดียวหรือการสื่อสารสองทางด้วย

6.4 หลักการเรียนรู้ ให้พิจารณาว่านวัตกรรมที่พัฒนาขึ้น ควรตอบสนองต่อการเรียนรู้ในลักษณะใดบ้าง เช่น โดยการวางเงื่อนไข ด้านภาษา ด้านทักษะ การสัมผัส การแก้ปัญหา กระบวนการทางสังคม การสังเกต ความผิดพลาด การคัดค้านหรือโต้แย้ง เป็นต้น

  1. การวางแผนและดำเนินการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ควรยึดหลักการ ดังนี้

7.1 กำหนดขั้นตอนการดำเนินงาน  ต้องกำหนดขั้นการปฏิบัติ เป้าหมาย จำนวนทรัพยากรและระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินงานแต่ละขั้นตอนไว้

7.2 การดำเนินงานตามแผน ให้นำเอาทรัพยากรต่าง ๆ ที่กำหนดไว้มาดำเนินการพัฒนาตามแผนที่วางไว้อย่างเป็นระบบ ซึ่งอาจเป็นคู่มือหรือแบบประเมินผล หรือปฏิทินการดำเนินงานการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ เป็นต้น

  1. การตรวจสอบ ทดลองและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้โดยควรยึดหลักการ ดังนี้

8.1 การตรวจสอบเบื้องต้น เป็นการตรวจสอบคุณภาพและความสอดคล้องกับการนำนวัตกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นไปใช้งานจริง โดยกลุ่มผู้พัฒนาและผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นการตรวจสอบที่เหมาะสมกับการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ที่มีระยะเวลาแก้ไขปัญหาในช่วงสั้น ๆ

8.2 การทดลองและพัฒนา (Try – out) เป็นการตรวจสอบคุณภาพโดยนำไปใช้กับสถานการณ์ที่แตกต่างกัน เพื่อปรับปรุงแก้ไขความบกพร่องที่ค้นพบจากการทดลอง ในชั้นนี้จะมีความเหมาะสมกับการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ ซึ่งการทดลองที่ได้มาตรฐานมี 3 ลำดับชั้น ดังนี้

1) ชั้นการทดลองแบบ 1 : 1 โดยการสังเกตพฤติกรรมของผู้สอนและผู้เรียนในขณะใช้นวัตกรรมการเรียนรู้โดยละเอียด หากพบว่ามีส่วนใดขาดตกบกพร่องจะต้องดำเนินการแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น

2) ขั้นการทดลองกลุ่มเล็ก (5-10 คน) โดยการสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนที่มีความสามารถทางการเรียนแตกต่างกัน ทั้งที่เรียนอ่อน ปานกลางและเก่ง หากพบข้อผิดพลาดหรือบกพร่องก็ทำการแก้ไขอีกครั้ง อันเป็นการตรวจสอบความเหมาะสมของนวัตกรรมการเรียนรู้

3) ขั้นทดลองกลุ่มใหญ่ (30 คนขึ้นไป) เป็นการตรวจสอบคุณภาพจากการใช้งานในสถานการณ์ที่จำลองขึ้นเช่นเดียวกับกลุ่มเล็ก ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มผู้เรียนอ่อน ปานกลางและเก่งเช่นเดียวกันและหากพบข้อบกพร่องก็ให้ทำการแก้ไขให้ดียิ่ง ๆ ขึ้น

8.3 การทดสอบประสิทธิภาพในสถานการณ์จริง หลังจากทดลองและปรับปรุงคุณภาพจนแน่ใจว่านวัตกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพอย่างแท้จริงแล้ว ต้องทดสอบประสิทธิภาพเพื่อยืนยันว่านวัตกรรมนั้น ๆ เป็นนวัตกรรมที่มีมาตรฐานเชื่อถือได้อีกครั้งหนึ่ง

อนึ่งในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ด้วย การวิจัยในชั้นเรียน นั้น ควรใช้เพียงการตรวจสอบเบื้องต้น เท่านั้น เพื่อความรวมเร็วและให้ทันกับสถานการณ์ที่ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้ในเรื่องต่อ ๆ ไป

  1. การสรุปและประเมินผล ซึ่งควรมีหลักการพิจารณา 4 ประการ ดังนี้

9.1 มีประสิทธิภาพ (Efficiency) หลังใช้นวัตกรรมการเรียนรู้แล้ว ผู้เรียนมีพฤติกรรมการเรียนรู้ตรงตามเป้าหมายที่หลักสูตรกำหนดไว้อย่างชัดเจน

9.2 มีประสิทธิผล (Productivity) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นช่วยให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์การเรียนรู้ โดยผู้เรียนจำนวนมากหรือทุกคนเกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้

9.3 มีความประหยัด (Economy) นวัตกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นเมื่อนำมาใช้สอนแล้วมีความคุ้มค่ากับการลงทุน ทั้งด้านทุนทรัพย์ แรงงานและระยะเวลาที่สูญเสียไป ตลอดจนมีความคงทนถาวรไม่ชำรุดเสียหายง่าย ๆ

9.4 มีคุณลักษณะที่ดี (Goodness) นวัตกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นต้องตรงกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน เหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนรู้ เหมาะสมกับเนื้อหาวิชาใช้ง่ายสะดวกปลอดภัย ไม่สิ้นเปลืองประหยัดคุ้มค่า สามารถแก้ปัญหาข้อบกพร่องของเนื้อหาวิชาและสถานการณ์การเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี

โดยสรุปแล้ว การพัฒนาวิธีการหรือนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ หรือจะกล่าวสั้น ๆ ว่า การสร้างนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้นั้นมีหลักการหรือวิธีการอย่างไรนั่นเอง ซึ่งมีขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้   9   ขั้นตอน ดังนี้

  1. สร้างกรอบแนวคิดในการพัฒนา
  2. วิเคราะห์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  3. กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้
  4. กำหนดคุณลักษณะนวัตกรรมการเรียนรู้
  5. สำรวจทรัพยากรการพัฒนานวัตกรรม
  6. ออกแบบนวัตกรรมการเรียนรู้
  7. วางแผนและดำเนินการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้
  8. ตรวจสอบ ทดลองและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้
  9. สรุปและประเมินผลการเรียนรู้

ทิศนา แขมมณี (2548 : 423) ได้ให้หลักการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาไว้พอสรุปได้ดังนี้

  1. การระบุปัญหา(Problem) ความคิดในการพัฒนานวัตกรรมนั้น ส่วนใหญ่จะเริ่มจากการมองเห็นปัญหา และต้องการแก้ไขปัญหานั้นให้ประสบความสำเร็จอย่างมีคุณภาพ
  2. การกำหนดจุดมุ่งหมาย(Objective) เมื่อกำหนดปัญหาแล้วก็กำหนดจุดมุ่งหมายเพื่อจัดทำหรือพัฒนานวัตกรรมให้มีคุณสมบัติ หรือลักษณะตรงตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
  3. การศึกษาข้อจำกัดต่างๆ(Constraints) ผู้พัฒนานวัตกรรมทางด้านการเรียนการสอนต้องศึกษาข้อมูลของปัญหาและข้อจำกัดที่จะใช้นวัตกรรมนั้น เพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้ได้จริง
  4. การประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรม(Innovation) ผู้จัดทำหรือพัฒนานวัตกรรมจะต้องมีความรู้ประสบการณ์ ความริเริ่มสร้างสรรค์ ซึ่งอาจนำของเก่ามาปรับปรุง ดัดแปลง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาและทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น หรืออาจคิดค้นขึ้นมาใหม่ทั้งหมด นวัตกรรมทางการศึกษามีรูปแบบแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะปัญหาหรือวัตถุประสงค์ของนวัตกรรมนั้น เช่นอาจมีลักษณะเป็นแนวคิด หลักการ แนวทาง ระบบ รูปแบบ วิธีการ กระบวนการ เทคนิค หรือสิ่งประดิษฐ์ และเทคโนโลยี เป็นต้น
  5. การทดลองใช้(Experimentation) เมื่อคิดค้นหรือประดิษฐ์นวัตกรรมทางการศึกษาแล้ว ต้องทดลองนวัตกรรม ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อเป็นการประเมินผลและปรับปรุงแก้ไขผลการทดลองจะทำให้ได้ข้อมูลนำมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนานวัตกรรมต่อไป ถ้าหากมีการทดลองใช้นวัตกรรมหลายครั้งก็ย่อมมีความมั่นใจในประสิทธิภาพของนวัตกรรมนั้น
  6. การเผยแพร่(Dissemination) เมื่อมั่นใจนวัตกรรมที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพแล้วก็สามารถนำไปเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จัก

กระบวนการสร้างและพัฒนานวัตกรรม 5 ขั้นตอน

ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาเอกสารแนวคิดหลักการ

เป็นขั้นตอนของการสำรวจว่าในทางวิชาการมีพัฒนาเรื่องนี้ไว้ว่าอย่างไร มีใครที่เคยประสบปัญหาการพัฒนาการเรียนรู้หรือการบริหารสถานศึกษาเช่นเดียวกันนี้มาก่อน และคนที่หาปัญหาเช่นเดียวกันนี้มีแนวทางในการแก้ไขปัญหานี้ในห้องเรียนของตนเองอย่างไร เพื่อให้ได้แนวคิดและแนวทางที่จะนำมาแก้ปัญหาของตนเองต่อไป

1.1    การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการแสวงหาแนวคิดและหลักการ

1.2    การศึกษาเอกสารงานวิจัยและประสบการของผู้เกี่ยวข้อง

ขั้นตอนที่ 2 การเลือกและการวางแผนสร้างนวัตกรรม

โดยพิจารณาเลือกจากลักษณะของนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ดี ดังนี้

  1. เป็นนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ตรงกับความต้องการและความจำเป็น
  2. มีความหน้าเชื่อถือและเป็นไปได้สูงที่จะสามารถแก้ปัญหา และพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน
  3. เป็นนวัตกรรมที่มีแนวคิดหรือหลักการทางวิชาการรองรับจนน่าเชื่อถือ
  4. สามารถนำไปใช้ในห้องเรียนได้จริง ใช้ได้ง่าย สะดวกต่อการใช้และการพัฒนานวัตกรรม
  5. มีผลการพิสูจน์เชิงประจักษ์ว่าได้ใช้ในสถานการณ์จริงแล้วสามารถแก้ปัญหาหรือพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ได้อย่างน่าเพิ่งพอใจ

ขั้นตอนที่ 3 สร้างและพัฒนานวัตกรรม

จากแผนการสร้างนวัตกรรม ครูต้องศึกษาถึงรายละเอียดของนวัตกรรมที่จะสร้างและดำเนินการตามขั้นตอน เช่น การสร้างนวัตกรรมที่เป็นชุดการเรียนรู้ ครูอาจดำเนินการสร้างตามขั้นตอนต่อไปนี้ เช่น

– วิเคราะห์จุดประสงค์การเรียนรู้

– กำหนดและออกแบบชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง

– ออกแบบสื่อเสริม

– ลงมือทำ

– ตรวจสอบคุณภาพครั้งแรกโดยผู้เชี่ยวชาญ

– ทดลองใช้ระยะสั้นเพื่อปรับปรุงเนื้อหาสาระ

– นำไปใช้เพื่อแก้ปัญหาหรือการพัฒนาการเรียนรู้

ขั้นตอนที่ 4  การหาประสิทธิภาพของนวัตกรรม

ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่พิสูจน์ว่านวัตกรรมที่สร้างขั้นนั้นเมื่อนำไปใช้จะได้ผลตามที่ต้องการหรือไม่ สามารถแก้ปัญหาในชั้นเรียนหรือพัฒนาผู้เรียนได้จริงหรือไม่การประสิทธิภาพของนวัตกรรมมีหลายวิธี เช่น

  1. การตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ
  2. การบรรยายคุณภาพ
  3. การคำนวณค่าร้อยละของผู้เรียน
  4. การหาประสิทฺธิภาพของนวัตกรรม
  5. การประเมินสื่อมัลติมีเดีย

ขั้นตอนที่ 5 ปรับปรุงนวัตกรรม

หลังจากที่หาประสิทธิภาพของนวัตกรรมที่สร้างขั้น ไม่ว่าจะโดยวิธีการใดก็ตามควรนำความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะเล่านั้นมาปรับปรุงนวัตกรรมให้มีคุณภาพเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในห้องเรียนได้มากขึ้น โดยเฉพาะค่าหาประสิทธิภาพโดยการให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยตรวจและการบรรยายคุณภาพก่อนการทดลองใช้และหลังการทดลองใช้กับผู้เรียนกลุ่มเล็กจะทำให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนและเป็นรายละเอียดที่จะปรับปรุงนวัตกรรมได้ง่ายขึ้น

7.ตัวอย่างนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

  1.) E-learning

ความหมาย    e-Learning  เป็นคำที่ใช้เรียกเทคโนโลยีการศึกษาแบบใหม่ ที่ยังไม่มีชื่อภาษาไทยที่แน่ชัด และมีผู้นิยามความหมายไว้หลายประการ ผศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง ให้คำนิยาม E-Learning หรือ Electronic Learning ว่า หมายถึง “การเรียนผ่านทางสื่ออิเลคทรอนิกส์ซึ่งใช้การ นำเสนอเนื้อหาทางคอมพิวเตอร์ในรูปของสื่อมัลติมีเดียได้แก่ ข้อความอิเลคทรอนิกส์ ภาพนิ่ง ภาพกราฟิก วิดีโอ ภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติฯลฯ”เช่นเดียวกับ คุณธิดาทิตย์ จันคนา ที่ให้ความ หมายของ e-learning หมายถึงการศึกษาที่เรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เนตโดยผู้เรียนรู้จะเรียนรู้ ด้วยตัวเอง การเรียนรู้จะเป็นไปตามปัจจัยภายใต้ทฤษฎีแห่งการเรียนรู้สองประการคือ เรียนตามความรู้ความสามารถของผู้เรียนเอง และ การตอบสนองใน ความแตกต่างระหว่างบุคคล(เวลาที่แต่ละบุคคลใช้ในการเรียนรู้)การเรียนจะกระทำผ่านสื่อบนเครือข่ายอินเตอร์เนต โดยผู้สอนจะนำเสนอข้อมูลความรู้ให้ผู้เรียนได้ทำการศึกษาผ่านบริการ World Wide Web หรือเวปไซด์ โดยอาจให้มีปฏิสัมพันธ์ (สนทนา โต้ตอบ ส่งข่าวสาร) ระหว่างกัน จะที่มีการ เรียนรู้ ู้ในสามรูปแบบคือ ผู้สอนกับ ผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้เรียนอีกคนหนึ่ง หรือผู้เรียนหนึ่งคนกับกลุ่มของผู้เรียน ปฏิสัมพันธ์นี้สามารถ กระทำ ผ่านเครื่องมือสองลักษณะคือ

1) แบบ Real-time ได้แก่การสนทนาในลักษณะของการพิมพ์ข้อความแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน หรือ ส่งในลักษณะของเสียง จากบริการของ Chat room

2) แบบ Non real-time ได้แก่การส่งข้อความถึงกันผ่านทางบริการ อิเลคทรอนิคเมลล์ WebBoard News-group เป็นต้น

 

2). ห้องเรียนเสมือนจริง

ความหมายการเรียนการสอนที่จำลองแบบเสมือนจริง เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่สถาบันการศึกษา ต่างๆ ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจและจะขยายตัวมากขึ้นในศตวรรษที่ 21 การเรียนการสอนในระบบนี้อาศัยสื่ออิเล็กทรอนิกส์โทรคมนาคม และเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นหลัก ที่เรียกว่า Virtual Classroom หรือ Virtual Campus บ้าง นับว่าเป็นการพัฒนาการ บริการทางการศึกษาทางไกลชนิดที่เรียกว่าเคาะประตูบ้านกันจริงๆ เป็นรูปแบบใหม่ของสถาบันการศึกษาในโลกยุคไร้พรมแดนมีนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายของคำว่า Virtual Classroom ไว้ดังนี้

ศ. ดร. ครรชิต มาลัยวงศ์ (2540) ได้กล่าวถึงความหมายของห้องเรียนเสมือน(Virtual Classroom) ว่าหมายถึง การเรียนการสอนที่ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของผู้เรียน เข้าไว้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการเครือข่าย (File Server) และเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ให้ บริการเว็บ (Web Server) อาจเป็นการเชื่อมโยงระยะใกล้หรือระยะไกล ผ่านทางระบบการสื่อสารและอินเทอร์เน็ตด้วย กระบวนการสอนผู้สอนจะออกแบบระบบการเรียนการสอนไว้โดยกำหนด กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อต่างๆ นำเสนอผ่านเว็บไซต์ประจำวิชา จัดสร้างเว็บเพจในแต่ละส่วนให้ สมบูรณ์ ผู้เรียนจะเข้าสู่เว็บไซต์ประจำวิชาและดำเนินการเรียนไปตามระบบการเรียน ที่ผู้สอนออกแบบไว้ในระบบเครือข่ายมีการจำลองสภาพแวดล้อมต่างๆ ในลักษณะเป็นห้องเรียนเสมือน

บุญเกื้อ ควรหาเวช (2543) ได้กล่าวถึงห้องเรียนเสมือนว่า (Virtual Classroom) หมายถึง การ จัดการเรียนการสอนที่ ผู้เรียนจะเรียนที่ไหนก็ได้ เช่น ที่บ้าน ที่ทำงาน โดยไม่ต้องไปนั่งเรียนในห้อง เรียนจริงๆ ทำให้ประหยัดเวลา ค่าเดินทาง และค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีกมากมาย

โดยสรุป กล่าวได้ว่าได้ว่า ห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom) หมายถึง การเรียนการสอนที่กระทำผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของผู้เรียนเข้าไว้กับเครื่อง คอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการเครือข่าย (File Server) และคอมพิวเตอร์ผู้ให้บริการเว็บ (Web sever) เป็นการเรียนการสอนที่จะมีการนัดเวลาหรือไม่นัดเวลาก็ได้ และนัดสถานที่ นัดตัวบุคคล เพื่อให้เกิด การเรียนการสอน มีการกำหนดตารางเวลาหรือตารางสอน เข้าสู่กระบวนการเรียนการสอนพร้อมๆ กันหรือไม่พร้อมกัน มีการใช้สื่อการสอนทั้งภาพและเสียง ผู้เรียนสามารถร่วมกิจกรรมกลุ่มหรือตอบ โต้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้สอนหรือกับเพื่อนร่วมชั้นได้เต็มที่ (คล้าย chat room) ส่วนผู้สอน สามารถตั้งโปรแกรมติดตามพัฒนาการประเมินผลการเรียนรวมทั้งประสิทธิภาพของหลักสูตรได้ ทั้งนี้ ไม่จำกัดเรื่องสถานที่ เวลา (Any Where & Any Time) ของผู้เรียนในชั้นและผู้สอน

3.) การศึกษาทางไกล (Distance Learning)

การศึกษาทางไกลเป็นการเปิดโอกาสทางการศึกษาให้แก่ผู้ใฝ่รู้และใฝ่เรียนที่ไม่สามารถสละเวลาไปรับการศึกษาจากระบบการศึกษาปกติได้เนื่องจากภาระทางหน้าที่การงานหรือทางครอบครัว และเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่ต้องการเพิ่มพูนหรือปรับปรุงความรู้ที่มีอยู่ให้ทันสมัยเพื่อประโยชน์ใน การทำงาน

ความหมายของการศึกษาทางไกล (Distance Education) 

การศึกษาทางไกล (Distance Education) หมายถึง ระบบการศึกษาที่ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ ไกลกัน แต่สามารถทำให้เกิดการเรียนรู้ได้โดยอาศัยสื่อการสอนในลักษณะของสื่อประสม กล่าวคือ การใช้สื่อต่างๆ ร่วมกัน เช่น ตำราเรียน เทปเสียง แผนภูมิ คอมพิวเตอร์ หรือโดยการใช้อุปกรณ์ทาง โทรคมนาคม และสื่อมวลชนประเภทวิทยุและโทรทัศน์เข้ามาช่วยในการแพร่กระจาย การศึกษาไปยังผู้ที่ปรารถนาจะเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวางทั่วทุกท้องถิ่น การศึกษานี้มีทั้งในระดับต้นจนถึงระดับสูงขั้นปริญญา

การศึกษาทางไกลเป็นการศึกษาวิธีหนึ่งในการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน ที่ อาศัยสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเลคทรอนิกส์ และสื่อบุคคล รวมทั้งระบบโทรคมนาคมในรูปแบบต่างๆ เป็น หลักการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ด้วยตนเองจากสื่อเหล่านั้น และอาจมีการสอนเสริม ควบคู่ไปด้วย เพื่อให้ผู้เรียนซักถามปัญหาจากผู้สอนหรือผู้สอนเสริม โดยการศึกษานี้อาจจะอยู่ใน รูปแบบของการศึกษาอิสระ การศึกษารายบุคคล หรือรูปแบบของมหาวิทยาลัยเปิดก็ได้ ตัวอย่างการ ศึกษาทางไกลในประเทศไทย ได้แก่

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งในการจัดการเรียนการ สอนของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ใช้ สื่อสิ่งพิมพ์ เป็นหลัก โดยมี สื่อเสริม คือรายการวิทยุกระจายเสียง และรายการโทรทัศน์บางวิชาอาจ มีเทปคาสเซ็ท วีดิโอเทป หรือสื่อพิเศษอย่างอื่นร่วมด้วย นักศึกษาจะเรียนด้วยตนเอง โดยอาศัยสื่อ เหล่านี้เป็นหลัก แต่มหาวิทยาลัยก็จัดการสอนเสริมเป็นครั้งคราวซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้สอนและผู้เรียนได้พบกันเพื่อซักถามข้อสงสัยหรือขอคำอธิบายเพิ่มเติม

Leave a comment